ประวัติความเป็นมาและข้อมูลด้านอาคารสถานที่
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4
ประวัติความเป็นมาของสถาบันฯ
ความเป็นมาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 คณะกรรมการการอาชีวศึกษา อันประกอบด้วยองค์คณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการในส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งสถาบันอาชีวศึกษา คือมีอำนาจหน้าที่ ในการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง การรวม และการแยกสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันที่กำหนดไว้ตามมาตรา 13 และ มาตรา 14 กล่าวคือ การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันให้กระทำได้โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคำนึงถึงการประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทวงในการดำเนินการตามวรรค 2 ถ้ามีความเหมาะสมหรือมีความจำเป็นจะแยกสถานศึกษาอาชีวศึกษา ส่วนหนึ่งส่วนใดมารวมกับสถานศึกษาอาชีวศึกษาอีกแห่งหนึ่งเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันก็ได้โดยให้ออกเป็นกฎกระทรวงซึ่งคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้กำหนดหลักการและเกณฑ์การประเมินการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาให้เป็นแนวทางการประเมินกลุ่มสถานศึกษาที่มีความประสงค์จะรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาต่อไปตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา มาตรา 11 (2) กำหนดหลักเกณฑ์การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาให้คำนึงถึงการประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามภาคการผลิตการพาณิชย์และบริการโดยมีหลักการสำคัญ 5 ประการดังนี้
- ความเป็นเลิศในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
- การตอบสนองความต้องการกำลังคนในการพัฒนาประเทศ
- ประสิทธิภาพและเอกภาพการบริหารจัดการ
- การระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐเอกชนและชุมชนซึ่งนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง
- การประกันคุณภาพและการกำกับมาตรฐานมาตรฐานมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 กำหนดให้ “สถานศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมกันเป็นสถาบันได้ การรวมสถาบันศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา ให้กระทำได้โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคำนึงถึงการประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต่อมาคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)(ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานคณะกรรมการ) ได้ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การรวมและแยกสถานศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2554 ตามมาตร 13 โดยมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นเลิศในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ โดยมีกระบวนการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อเพิ่มผลผลิตและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ให้ได้ระดับมาตรฐานสากล
2. การกระจายอำนาจไปสู่ระดับปฏิบัติเพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในทุกระดับมีคุณภาพและประสิทธิภาพเกิดผลสำเร็จแก่ประชาชน โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา
3. ตอบสนองความต้องการการผลิตและการพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพ ระดับฝีมือระดับเทคนิคระดับเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งเป็นการยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
4. การประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีขั้นสูงจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน ในการพัฒนาศักยภาพของการจัดการอาชีวศึกษา
5. การประกันคุณภาพและการกำกับมาตรฐาน ตามมาตรฐานวิชาชีพในระดับสากลจากประกาศคณะกรรมการการอาชีพศึกษาดังกล่าวสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงได้ทำการประเมินสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อเข้าร่วมจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา มาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 จนสามารถเสนอร่างกฎกระทรวงการร่วมสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาผ่านคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 (สมัยนายวรวัจจน์ เอื้อภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) และประกาศกฎกระทรวงฯ ในราชกิจจานเบกษา ได้ในวันที่ 27 มิถุนายน 2555 (ศ.ดร.สุชาติ ธาราดำรงเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) สถานะและวัตถุประสงค์ของสถาบันการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษา 19 สถาบันเกิดจากการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา 161 แห่ง ตามกฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 56 ก หน้า 18 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2555 เป็นไปตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 สถาบันการอาชีวศึกษามีสถานะตามมาตรา 15 และ 16 ดังนี้มาตรา 15 ให้สถาบันการอาชีวศึกษาตามมาตรา 13 และมาตร 14 เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มาตรา 16 ให้สถาบันตามมาตรา 15 เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่ชำนาญการปฏิบัติการสอนการวิจัย การถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวมทั้งให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม “เมื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาแล้วจะสามารถจัดการอาชีวศึกษาได้จนถึงรับปริญญาตรี ที่เรียกว่าระบบ 3-2-2 คือ ปวช-ปวส.-ปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า สถาบันอาจแบ่งส่วนราชการดังต่อไปนี้”
(1) สำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน
(2) วิทยาลัย
(3) สำนัก
(4) ศูนย์ สถาบันอาจให้มีสวนราชการที่เรียกชื่อย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัย